Last updated: 29 มี.ค. 2567 | 559 จำนวนผู้เข้าชม |
ในยุคที่โลกเต็มไปด้วยปัญหาขยะพลาสติก หลายคนเริ่มมองหาทางเลือกใหม่สำหรับการบรรจุภัณฑ์ที่ทั้งสะดวก ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หนึ่งในนวัตกรรมที่น่าจับตามองคือ Shrink Film คือ ฟิล์มหดอัจฉริยะที่ตอบโจทย์ความต้องการของยุคสมัยที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
ฟิล์มหดหรือ Shrink Film คือ เป็นเทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ที่ใช้พลาสติกฟิล์มหดชนิดพิเศษ เมื่อผ่านความร้อน ฟิล์มจะหดตัวและยึดติดกับสินค้า แนบสนิท ปกป้องสินค้าได้อย่างมิดชิด โดยไม่ต้องใช้กาวหรือเทปพันใด ๆ สามารถเห็นตัวอย่างได้หลากหลายจากแพ็กขวดน้ำพลาสติกหรือแพ็กกระป๋องเบียร์ในร้านค้าทั่วไปใช้เทคโนโลยี Shrink Wrap คือการใช้ความร้อนเป่าลมเพื่อให้หดตัวและเข้ารูปกับสินค้าได้
ลักษณะของShrink Film คือเป็นฟิล์มพลาสติกชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากฟิล์มพลาสติกทั่วไป ดังนี้
มีหลายสี หลายขนาด เหมาะกับการใช้งานที่หลากหลาย
ผลิตจากเม็ดพลาสติกที่ผ่านกรรมวิธีพิเศษ ทำให้ความยืดหยุ่นสูงและหดตัวเมื่อได้รับความร้อน
มักผลิตจาก PVC, LDPE, LLDPE ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติและเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกัน
มีความบาง ยืดหยุ่น ช่วยให้ประหยัดเนื้อวัสดุและพื้นที่จัดเก็บ รองรับสินค้าหลากหลายรูปทรงและขนาด
จากข้อความข้างต้นเราสามารถแบ่งลักษณะของพลาสติกที่นำมาใช้ทำ Shrink Film ได้ทั้งหมด 4 ประเภทด้วยกัน แต่ละประเภทก็จะให้คุณสมบัติการใช้งานที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้
ฟิล์มหด PVC
PVC คือ ฟิล์มหดชนิดหนึ่งที่ผลิตจากพลาสติก PVC (Polyvinyl chloride) ซึ่งมีความใส ทนทาน กันน้ำ เหมาะสำหรับการห่ออาหาร ของเล่น ขวดน้ำ และสินค้าอื่น ๆ ที่ต้องการความสะอาด ปลอดภัย เป็นฟิล์มหด เป่าลมร้อนที่มีทั้งสีใสและสีขุ่น ที่มีทั้งฟิล์มประเภท หดตัดตรง ฟิล์มหดรีดแบน และแบบหดรีดโค้งโดยฟิล์มประเภทนี้สามารถเพิ่มลวดลาย หรือทำเป็นฉลากฟิล์มหดแปะบนสินค้าได้ด้วย
ฟิล์มหด LDPE
ฟิล์มหด LDPE คือ หนึ่งในฟิล์มหดที่ใช้พลาสติกประเภท PE หรือ Polyethylene เช่นเดียวกันกับที่นำมาผลิตถุง pe คือเป็นฟิล์มหดชนิดหนึ่งที่ผลิตจากพลาสติก LDPE (Low Density Polyethylene) เป็นฟิล์มหดรูปแบบพลาสติกผสมซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง ทนทาน กันน้ำ เหมาะสำหรับการห่อสินค้าทั่วไป เช่น หนังสือ เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์
ฟิล์มหด LLDPE
ฟิล์มหด LLDPE คือ ฟิล์มหดชนิดหนึ่งที่ผลิตจากพลาสติก LLDPE (Linear Low Density Polyethylene) เช่นเดียวกับประเภท LDPE ซึ่งมีความทนทานมากกว่า กันรอยขีดข่วน กันน้ำ เหมาะสำหรับการห่อสินค้าที่ต้องการความแข็งแรง เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องจักร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ฟิล์มหด HDPE
สำหรับฟิล์มหดประเภท High-Density Polyethylene (HDPE) จะผ่านกระบวนการ Polymerization ที่ความดันสูง ทำให้ทนความร้อนได้สูง ไม่มีตัวนำไฟฟ้า แปรรูปและขึ้นรูปได้ง่าย และใช้งานได้นานกว่าพลาสติกประเภท PE ทั่วไปเนื่องจากสามารถป้องกันสารเคมีได้ แต่ความยืดหยุ่นจะน้อยกว่าแบบ LDPE และ HDPE
ฟิล์มหด POF
สำหรับ pof shrink film คือ ฟิล์มประเภทไม่มีสารก่อมะเร็ง มีลักษณะใสทำให้มองเห็นสินค้าด้านในมีคุณสมบัติอ่อนนุ่ม แต่แข็งแรง และมีรุ่นพิเศษที่ได้รับการผลิตออกมาเรียกว่า เป็น Anti-Fog เทคโนโลยีใหม่ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการป้องกันหมอกหรือฝ้าจากสินค้าที่มีความชื้นโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีราคาแพงกว่าฟิล์มหด POF ทั่วไป โดยมีการผลิตมาจากเม็ดพลาสติก Polyolefin ร่วมกับส่วนผสมที่เป็นสาร Anti-Fog หรือสารป้องกันฝ้าหรือน้ำเกาะ กันได้ทั้งน้ำ และฝุ่นละออง เหมาะสำหรับ อาหารสด อาหารแช่แข็ง ยา เวชภัณฑ์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
การเลือกฟิล์มหด หรือ Shrink Film มาใช้งานนั้น มีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา เพื่อให้ได้ฟิล์มหดที่เหมาะสม มีคุณภาพ และคุ้มค่า ดังนี้
เลือกจากการใช้งาน เช่น ใช้กับอาหารเลือกแบบใส ใช้กับหนังสือหรือเสื้อผ้าเลือกแบบขุ่น
เลือกตามขนาดที่ต้องการใช้งาน โดยมีตั้งแต่ขนาด 50x100 ซม. จนถึง 50 x 1,000 เมตร
เลือกจากความหนาเช่น ฟิล์มบาง สำหรับสินค้าน้ำหนักเบา, ฟิล์มหนา สำหรับสินค้าน้ำหนักมาก
เลือกจากวัสดุเช่น PVC ใส ทนทาน กันน้ำ, LDPE ยืดหยุ่นสูง ทนทาน, LLDPE ทนทาน กันรอยขีดข่วน
Q : Shrink Film ผลิตมาจากอะไร ?
A : Shrink Film ผลิตมาจากเม็ดพลาสติกหลากหลายประเภททั้ง PE, PVC, POF และแบบผสมรวมกันอย่าง LDPE, LLDPE, HDPE และ PET มีลักษณะเป็นเม็ดสีขาว หรือสีใส ที่ได้จากการผลิตจากปิโตรเคมี ซึ่งก็คือ น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ นำมาหลอมให้มีลักษณะบาง และมีความยืดหยุ่นตามคุณสมบัติของพลาสติกแต่ละประเภทที่ต้องการ
Q : เลือก Shrink film อย่างไรให้เหมาะกับสินค้า ?
A : เลือกขนาดฟิล์มให้พอดีกับสินค้า
เลือกความหนาฟิล์มให้เหมาะกับน้ำหนักของสินค้า
เลือกฟิล์มแบบใสหรือขุ่น ขึ้นอยู่กับต้องการโชว์สินค้าหรือไม่
เลือกวัสดุฟิล์มให้เหมาะกับสินค้า เช่น PVC สำหรับอาหาร LDPE สำหรับหนังสือ LLDPE สำหรับชิ้นส่วนยานยนต์
Q : ข้อควรระวังในการใช้ Shrink film ?
A : ระวังอย่าให้ฟิล์มพันแน่นเกินไป อาจทำให้สินค้าเสียหาย ระวังอย่าให้ฟิล์มโดนความร้อนสูงเกินไป อาจทำให้ฟิล์มละลาย สวมอุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงมือ แว่นตา หน้ากาก เมื่อใช้งานฟิล์ม
29 มี.ค. 2567
23 เม.ย 2567
24 เม.ย 2567