Last updated: 26 ธ.ค. 2566 | 1687 จำนวนผู้เข้าชม |
ชริ้งฟิล์มหรือที่เราเรียกกันว่าฟิล์มหด ฟิล์มหดรีดโค้ง ฟิล์มหดรีดตรง ฟิล์มตัดเปิด ตามสภาพและความเหมาะสมกับการใช้งานแต่ละแพคเกจ คือการห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ด้วยฟิล์มที่มีการหดตัวด้วยความร้อน เพื่อป้องกันความเสียหายของผลิตภัณฑ์ เพื่อความสวยงาม เพื่อป้องกันการถูกทำลาย และเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ด้านในบรรจุภัณฑ์ที่อาจได้รับอันตรายจากภายนอก
ชริ้งมีกี่ประเภท ?
1.ชริ้งค์ฟิล์มแบบขุ่น เนื้อฟิล์มจะเหนียวแข็งแรง เหมาะสำหรับห่อหุ้มสินค้าที่มีน้ำหนักมาก เคลื่อนย้ายสะดวก และไม่เสียรูปทรง
2.ชริ้งค์ฟิล์มแบบใสเงางาม เหมาะกับหุ้มสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อโชว์สินค้าให้น่าสนใจ เคลื่อนย้ายสะดวก ไม่เสียรูปทรง
ฟิล์มที่เรานิยมใช้กันมี3ชนิด คือ
1. ฟิล์มหด POF หรือ ฟิล์มนิ่ม เป็นฟิล์มประเภท Food grade เป็นฟิล์มที่มีคุณภาพสูงสุดในบรรดาทั้ง3ชนิด มีลักษณะบาง ใส เงา และทนทานเหมาะกับการนำมาห่อหุ้มผลิตภัณฑ์เพราะได้รับการยอมรับในระดับสากลสามารถส่งออกไปยังนานาประเทศทั่วโลก ด้วยคุณสมบัติที่รักสิ่งแวดล้อม สามารถรีไซเคิลได้ ที่สำคัญไม่มีกลิ่น ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
2. ฟิล์มหด PVC เป็นฟิล์มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเพราะหาซื้อง่าย มีน้ำหนักเบา ราคาถูก แต่ข้อเสียที่ทำให้ความนิยมของตัวฟิล์มหด PVCนั้นลดลงอย่างต่อเนื่องคือไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่สามารถรีไซเคิลได้ มีความแข็งมาก แต่ขาดง่าย และที่สำคัญมีกลิ่นเหม็นเมื่อโดนความร้อนอันตรายต่อผู้บริโภคเพราะมีสารก่อมะเร็งไม่ควรนำมาห่อหุ้มอาหาร ในหลายประเทศไม่อนุญษติให้ผู้ประกอบการใช้ฟิล์มหดชนิดนี้
3. ฟิล์มหด PE นิยมใช้ในการห่อหุ้มแพคสินค้าประเภทขวดน้ำดื่ม คุณสมบัติโดดเด่นคือ เหนียว ไม่แตกง่าย แต่มีข้อเสียคือ มีอัตราการหดตัวน้อยมาก ความใสของฟิล์มชนิดนี้มีน้อยกว่าชนิดอื่น และราคาขึ้นลงตามราคาต้นทุน มีความ
พลาสติก PE ที่ได้รับความนิยมมีอยู่3ชนิด คือ
1.Low-Density Polyethylene (LDPE) เหมาะสำหรับใช้เป็นฟิล์มหดในการชริ้งแพ็คเกจบรรจุภัณฑ์และสินค้า
2.Linear Low-Density Polyethylene (LLDPE) เหมาะสำหรับการนำไปใช้เป็นฟิล์มห่ออาหาร
3.High-Density Polyethylene (HDPE) เหมาะสำหรับการนำไปทำพลาสติกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ถังน้ำมันรถ ขวดพลาสติก ท่อน้ำ สายเคเบิ้ล
สำหรับวิธีการใช้ฟิล์มหดในการห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ สามารถทำได้2วิธี คือ
1.นำฟิล์มมาทำในลักษณะคล้ายถุงตามขนาดของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการแล้วสวมครอบบรรจุภัณฑ์อย่างหลวมๆ จากนั้นนำเครื่องเป่าลมร้อน(Heat gun)เป่าไปที่บริเวณฟิล์มที่ต้องการในระยะห่างประมาน15เซนติเมตรตามความเหมาะสม สำหรับวิธีนี้เหมาะสำหรับสินค้าที่มีจำนวนไม่มาก ไม่เร่งด่วนและมีต้นทุนในการชริ้งไม่สูงมาก
2.นำบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการเข้าเครื่องอัตโนมัติในการตัดฟิล์มและเครื่องอุโมงค์ความร้อน โดยความร้อนภายในอุโมงค์จะเป็นตัวทำให้ฟิล์มหดตัวและรัดแน่นกับบรรจุภัณฑ์ สำหรับวิธีนี้เหมาะสำหรับสินค้าที่มีจำนวนมาก ต้องการความเร่งด่วน และมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าแบบแรก
24 เม.ย 2567
23 เม.ย 2567
29 มี.ค. 2567